ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโดยทั่วไปของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำรวจเป็นเทือกเขาภูแลนคา ภูเขียว ภูคำน้อย พื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และที่ราบสูง ซึ่งจะมีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 200 ถึง 1,038 เมตร จากระดับน้ำทะเล จะมียอดภูคี ซึ่งเป็นยอดเขาที่มีความสูง สูงสุดของพื้นที่ โดยมีความสูงประมาณ 1,038 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ทางด้านทิศใต้จะเป็นพื้นที่ลาด ซึ่งจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 200 ถึง 700 เมตร และพื้นที่ทางด้านทิศเหนือจะเป็นพื้นที่ลาดชันมาก มีหน้าผาหุบเขาเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
จัดอยู่ในภูมิอากาศฝนเมืองร้อนมี 3 ฤดู ได้รับอิทธิพลจากมรสุมประจำฤดู อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27.66 องศาเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปี 60 % ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,155.36
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ลักษณะพันธ์ุพืช
จากสภาพพื้นที่เทือกเขาภูแลนคาที่มีระดับความสูงประมาณ 300 - 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงก่อให้เกิดสภาพป่าไม้ที่หลากหลายถึง 4 ประเภท ดังนี้
1. ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าผสมผลัดใบ พบโดยทั่วไปบริเวณหน้าผาด้านทิศเหนือของพื้นที่ ในระดับความสูงประมาณ 300 - 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 96 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 48 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ตะแบก ประดู่ มะค่าโมง ตีนนก ไม้ไผ่ ฯลฯ
2.ป่าดิบแล้ง เป็นป่าไม้ผลัดใบ พบโดยทั่วไปตามร่องเขาและลำห้วย ในระดับความสูงประมาณ 400 - 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไทร ตะแบก ประดู่ ตะเคียน ฯลฯ สำหรับไม้พื้นล่างจะพบไม้พุ่มและลูกไม้ป่าขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
3. ป่าเต็งรัง เป็นป่าโปร่งผลัดใบ พบบริเวณทางตอนใต้ของพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติฯ ขึ้นอยู่ในระดับความสูงประมาณ 300 - 700 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ เหียง เต็ง รัง พะยอม รักใหญ่ ส้าน ฯลฯ ไม้พื้นล่างจะพบไผ่เพ็ก กระเจียวขาว ซึ่งเป็นไม้ประจำถิ่นขึ้นอยู่เป็นกลุ่มๆ ทั่วไป
4. ป่าทุ่งหญ้า เป็นป่าทุ่งหญ้าคาและท่งหญ้าเพ็ก พบโดยทั่วไปในพื้นที่คลอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4 ตาราง-กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2
ลักษณะสัตว์ป่า
เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่มีความหลากหลายของชนิดป่าถึง 4 ประเภท ประกอบกับมีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติตาดโตน และอุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์ป่ามากมาย จากการสำรวจทรัพยากรสัตว์ป่าในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติภูแลนคา ได้แก่ สัตว์จำพวกนก จำนวน 57 ชนิด และสัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 3 ชนิด เช่น หมูป่า สุนัขจิ้งจอก อีเห็น เป็นต้น
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยใช้เส้นทางตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดปทุมธานี อยุธยา จนถึงสระบุรี ระยะทางประมาณ 107 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อโดยใช้เส้น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอปากช่อง จนถึงแยกเข้าอำเภอสีคิ้ว ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส ถึงจังหวัดชัยภูมิ ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร รวมระยะทางเส้นทางหลักทั้งสิ้นประมาณ 312 กิโลเมตร หลังจากนั้นสามารถเดินทางจากจังหวัดชัยภูมิ ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2051 (ชัยภูมิ-ตาดโตน) ไปประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) ไปจนถึง กม.ที่ 26 มีทางแยกซ้ายมือเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
อุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ ราคา 2,000 บาท
กลุ่มนักท่องเที่ยว
เวลาทำการ
ราคาค่าเข้าชม
ข้อมูลแนะนำ
ข้อมูลที่พักในแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวก
ระบบกำจัดขยะ
ระบบไฟฟ้า
ระบบน้ำใช้
ระบบรักษาความปลอดภัย
ระบบการสื่อสาร
02 283 1500
เลขที่ 4 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
จันทร์ - ศุกร์ (เวลาราชการ)